เขื่อนปากมูล

      

 

เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตร และผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ประมาณ 75 กม. ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูล และอำเภอโขงเจียม ประมาณ 6 กม. สันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจาก อ.โขงเจียม ไป อ.สิรินธรได้ โดยไม่ต้องย้อนไป อ.พิบูลมังสาหาร นอกจากนี้ บริเวณท้ายเขื่อนยังสามารถล่องเรือชมทิวทัศน์ลำน้ำมูลที่งดงามโดยตลอด ไปบรรจบกับแม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำสองสี

          แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำสำคัญที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย คือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่รับน้ำของแม่น้ำนี้ กว้างใหญ่ไพศาลถึง 117,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของพื้นที่ประเทศไทย ปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณร้อยละ 70 จะไหลผ่านแม่น้ำนี้ลงสู่แม่น้ำโขง มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 23,300 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากแม่น้ำเจ้าพระยา

ความเป็นมาของโครงการ ด้วยปริมาณน้ำจำนวนมหาศาล ที่ต้องไหลลงแม่น้ำโขง โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่านี้ ทำให้สำนักงานพลังงานแห่งชาติ (สพช.) คิดที่จะพัฒนาแหล่งน้ำนี้ให้เกิดประโยชน์ โดยความร่วมมือของรัฐบาลฝรั่งเศส ส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาทำการศึกษา และสำรวจเบื้องต้น เมื่อเดือนธันวาคม 2510 รายงานเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2511 และรายงานความเหมาะสมได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2513 มีที่ตั้งเขื่อนอยู่ที่แก่งตะนะ ห่างจากปากแม่น้ำมูลขึ้นมา 4 กิโลเมตร แต่เนื่อจากปัญหาโยกย้ายราษฎร และลำดับความสำคัญโครงการยังอยู่ในลำดับต่ำ จึงได้หยุดชะงักไป

          เมื่อเดือนพฤษภาคม 2522 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับโอนโครงการนี้มาดำเนินการต่อ ได้ศึกษาและสำรวจ เพื่อทบทวนความเหมาะสม โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส รายงานแล้วเสร็จ ในเดือนพฤศจิกายน 2523 ปรากฏว่า ยังให้ผลประโยชน์คุ้มค่า แต่จากการศึกษาความเหมาะสมทางด้านนิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2525 ปรากฏว่า มีผลกระทบที่สำคัญคือ ทำให้ราษฎรถึง 4,000 ครัวเรือน เดือดร้อนเพราะต้องย้ายออกจากพื้นที่โครงการ จึงได้ชะลอโครงการไว้ก่อน ต่อมา กฟผ. ได้ทำการศึกษาและสำรวจทบทวนโครงการ โดยให้ลดระดับกักเก็บลง เพื่อลดจำนวนราษฎรที่จะต้องโยกย้าย และย้ายที่ตั้งเขื่อนจากแก่งตะนะ ขึ้นมาทางเหนือน้ำ อีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร เพื่ออนุรักษ์ตัวแก่งตะนะ อันเป็นส่วนสำคัญของอุทยานแห่งชาติเอาไว้ รายงานนี้ได้จัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2528 ปรากฏว่า เหมาะสมที่จะลงทุน คือ มีอัตราผลตอบแทนถึงร้อยละ 17.1 และกรณีนี้ จะต้องอพยพราษฎรเพียง 400 ครอบครัว

ที่เขื่อนปากมูล บริเวณสันเขื่อนเป็นถนนที่เชื่อมระหว่าง ทางหลวงหมายเลข 217 กับ 2222 เป็นที่ตั้งของบันไดปลาโจน แห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา ช่วงเวลาที่ปลาโจนบันไดคือ ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

ข้อมูลจำเพาะ

อ่างเก็บน้ำ
พื้นที่รับน้ำ 117,000   ตร.กม.
ปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 23,300   ล้าน ลบ.เมตร
ระดับกักเก็บน้ำ (สูงสุดปกติ) 108   เมตร รทก.
ความจุของอ่างเก็บน้ำ 225   ล้าน ลบ.เมตร
พื้นที่ของอ่างเก็บน้ำ 60   ตร.กม.
เขื่อน
ชนิด

หินถมแกนดินเหนียว

สูง 17   เมตร
ยาว 255   เมตร
ระดับสันเขื่อน +111   เมตร (รทก.)
สันเขื่อนกว้าง 12   เมตร
โรงไฟฟ้า
ชนิดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและกังหันน้ำ เป็นชนิดบรรจุรวมในกะเปาะเดียวกัน
กำลังผลิตติดตั้ง 4x34,000   กิโลวัตต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 280   ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
สายส่งไฟฟ้า
- ขนาด 115 กิโลวัตต์ วงจรคู่ จากลานไกไฟฟ้าปากมูล ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยอุบลราชธานี 2 ระยะทาง 70 กิโลเมตร
- ขึงสายบนเสาไฟฟ้าขนาดขนาด 115 กิโลวัตต์ ที่มีอยู่แล้วจากสถานีไฟฟ้าย่อยอุบลราชธานี 2 ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ และยโสธร

ที่เขื่อนปากมูล บริเวณสันเขื่อนเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 217 กับ 2222 เป็นที่ตั้งของบันไดปลาโจนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา ช่วงเวลาที่ปลาโจนบันไดคือ ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

        ความรู้เรื่องบันไดปลาโจน

          อันที่จริงสัตว์น้ำในเมืองไทย เช่น กุ้ง ปู ปลา ก็มีการเดินทางย้ายถิ่น (MlGRATlON) เช่นเดียวกับสัตว์น้ำในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก สัตว์น้ำเดินทางย้ายถิ่นด้วยจุดประสงค์สำคัญ 2 ประการ

          โตรกผา น้ำตกที่สูงชันที่เกิดขึ้นเองในแม่น้ำตามธรรมชาติ หรือเขื่อน ฝาย ที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ดี ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางย้ายถิ่นของสัตว์น้ำเพื่อไปให้ถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ที่เหมาะสม และแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ เป็นผลให้ความชุกชุมของสัตว์น้ำลดลง หรือบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไป

          บันไดปลาโจน เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มนุษย์เราคิดค้นขึ้นมา เพื่อช่วยให้กุ้งและปลาสามารถว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นสู่โตรกผา น้ำตกที่สูงชัน และเขื่อนที่สร้างขึ้นในแม่น้ำลำคลองไปสู่แหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ เพื่อเป็นการช่วยให้ปลาสามารถขยายพันธุ์ได้สะดวกและปลอดภัยขึ้น โดยจะส่งผลให้มนุษย์มีปลาบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ไม่ขาดแคลนตลอดปี

 การเดินทางไปโครงการปากมูล เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ กำหนดจะทำการก่อสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำมูล บริเวณบ้านหัวเห่ว ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ลงไปตามลำน้ำประมาณ 82.5 กิโลเมตร ห่างจากปากแม่น้ำมูล (ที่ไหลลงแม่น้ำโขง) ขึ้นมาทางเหนือน้ำ ประมาณ 6 กิโลเมตร

 

เว็บไซต์ในอุบลที่น่าสนใจ