หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี

 

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี เป็นส่วนราชการส่วนกลาง สังกัดหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่ออาคารว่า "หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี" เป็นสถาบันระดับชาติที่ทุกประเทศมีไว้ เพื่ออนุรักษ์และเก็บรักษาเอกสารที่ล้นกระแสการปฏิบัติงานของส่วนราชการไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป

 

อาคารและที่ตั้ง

               ลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีตแข็งแรง 3 ชั้น หลังคาทรงไทย ส่วนยอดหลังคาทำเป็นองค์พระธาตุพนม สัญลักษณ์แห่งพื้นถิ่นอีสาน เนื้อที่อาคาร 2,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลอุบล ถนนเลี่ยงเมือง หมู่ 10 บ้านหนองหอย ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในบริเวณพื้นที่สาธารณะเดิมที่เคยใช้เป็นสนามม้า จำนวน 22 ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือ จด แฟลตที่พักอาศัยข้าราชการกรมการปกครองและสนามกีฬาเทศบาลตำบลอุบล

ทิศใต้ จด ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อุบลราชธานี

ทิศตะวันออก จดซอยสีห์พนมและถนนเลี่ยงเมือง

ทิศตะวันตก จด กองกำกับการ 3 กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายพระยอดเมืองขวาง)

โครงสร้างหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

               พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2538 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไว้ดังนี้

    1. รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา ให้บริการเอกสารสำคัญของชาติแก่หน่วยราชการ องค์การรัฐวิสาหกิจ และประชาขนทั่วไป
    2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อพัฒนาและเผยแพร่เอกสารสำคัญของชาติ
    3. บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และนอกประเทศ
    4. ดำเนินการเกี่ยวกับภาพยนตร์แห่งชาติ
    5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

บทบาทหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี

               นอกเหนือจากมีบทบาทหน้าที่ ตามโครงสร้างของหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญในการติดต่อประสานงาน กับทุกส่วนราชการใน 19 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนการถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 โดยเฉพาะในเรื่อง การรับมอบเอกสารราชการที่มีอายุครบ 25 ปี การฝากเก็บเอกสารราชการ และการทำลายเอกสารราชการ

               การได้มาของเอกสารที่เก็บรักษาไว้เป็นเอกสารสำคัญของชาติ หรือเอกสารจดหมายเหตุ ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จำแนกได้ดังนี้

การให้บริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี

               หอจดหมายเหตุหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี เปิดทำการในวันและเวลาราชการสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ (045) 285522-3

เว็บไซต์ในอุบลที่น่าสนใจ